วันอังคารที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2556

สอนวิทย์คิดสนุกกับเด็กปฐมวัย จากการศึกษาความรู้จากโทรทัศน์ครู

        นำเสนอสื่อการทดลองวิทยาศาสตร์ของ คุณครูกรรณิการ์ เฉิน เพื่อเป็นเทคนิคในการพัฒนาการของเด็กปฐมวัยโดยใช้วัสดุรอบตัว
        โดยมีการพูดคุยระหว่างคุณครูกรรณิการ์  กับคุณครูคนอื่นๆถึงความรู้ในการสอนการทดลองวิทยาศาสตร์แก่เด็กปฐมวัยและร่วมกันปฏิบัติกิจกรรม  จากนั้นคุณครูก็จะนำกิจกรรมต่างๆที่ได้เรียนรู้ไปประยุกต์สอนเด็กปฐมวัยในชั้นเรียนของตัวเองต่อไป
กิจกรรมที่ได้เรียนรู้คือ
  • ปฏิบัติโดยใช้น้ำตาลก้อนหยดสีลงไปแล้วดูการเปลี่ยนแปลง
  • การใช้กระดาษทิชชูอธิบายความลับของสีดำซึ่งมีสีอื่นๆ ซ่อนอยู่มากมาย
  • การอธิบายเรื่องแรงตึงของผิวน้ำโดยใช้อุปกรณ์ง่ายๆ ที่อยู่รอบตัวในการอธิบายให้เห็นภาพ และเข้าใจได้ง่ายๆ
อ้างอิงจาก  โทรทัศน์ครู  http://www.thaiteachers.tv/vdo2.php?id=3504



วันจันทร์ที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2556

สรุปบทความเรื่อง การจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ปฐมวัย

อ้างอิงจาก มิสวัลลภา  ขุมหิรัญ http://home.acn.ac.th/html_edu/cgi-bin/acn/main_php/print_informed.php?id_count_inform=188
วิทยาศาสตร์มีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งในการดำรงชีวิตประจำวันของมนุษย์ ตลอดชีวิตของทุกคนต่างก็มีความเกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์ทั้งสิ้น  การเรียนรู้วิทยาศาสตร์จึงมีความสำคัญที่จะทำให้คนได้พัฒนาวิธีคิด ทั้งความคิดเป็นเหตุเป็นผล คิดสร้างสรรค์ คิดวิเคราะห์ วิจารณ์ มีทักษะที่สำคัญในการค้นคว้าหาความรู้ มีความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบ สามารถตัดสินใจโดยใช้ข้อมูลที่หลากหลายและ มีประจักษ์พยานที่ตรวจสอบได้ ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ช่วยให้คนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับธรรมชาติและ เทคโนโลยีที่มนุษย์ขึ้น รวมถึงการนำความรู้ไปใช้อย่างสร้างสรรค์ มีเหตุผล มีคุณธรรม นอกจากนี้ยังช่วยให้คนมีความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับการใช้ ประโยชน์ การดูแลรักษาตลอดจนการพัฒนาสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติอย่างสมดุลและ ยั่งยืน
การจัดประสบการณ์การเรียนรู้วิทยาศาสตร์ควรเน้นให้ผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง เปิดโอกาสให้เด็กมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมมีประสบการณ์ตรง ได้ลงมือปฏิบัติจริงโดยมีครูเป็นผู้ตอบสนองความสนในของเด็กและส่งเสริมการ จัดโครงสร้างความคิดจากประสบการณ์ เพื่อพัฒนามุมมองและความเข้าใจทางวิทยาศาสตร์ รวมถึงการส่งเสริมทัศนคติเกี่ยวกับการดูแลและมีความรับผิดชอบที่รักษาสิ่ง ต่างๆ ที่อยู่รอบตัวอย่างเหมาะสมตามวัย
สรุปองค์ความรู้ได้ดังนี้

วันอังคารที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2556

สรุปงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการจัดประสบการวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย


ซึ่งมีรายละเอียดงานวิจัยดังนี้

ชื่องานวิจัย  ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับประสบการณ์จากการใช้กิจกรรมมุ่งเน้นทักษะการบวนการทางวิทยาศาสตร์และการเล่นตามมุมวิทยาศาสตร์อย่างมีแบบแผน

ของ  อัจฉราภรณ์  เชื้อกลาง

เสนอต่อ  บัณฑิตวิทยาลัย  มหาวิทยาลัยเชียงใหม่  พฤษภาคม  2545

วัตถุประสงค์ของการวิจัย
1. เพื่อเปรียบเทียบทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับประสบการณ์ใช้กิจกรรมมุ่งเน้นทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และการเล่นตามมุมวิทยาศาสตร์อย่างมีแบบแผนก่อนและหลังการทดลอง
2. เพื่อเปรียบเทียบกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับประสบการณ์จากการใช้กิจกรรมตามแผนการจัดประสบการณ์และการเล่นตามมุมวิทยาศาสตร์แบบปกติของสำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติก่อนและหลังการทดลอง
3. เพื่อเปรียบเทียบทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับ ประสบการณ์ใช้กิจกรรมมุ่งเน้นทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และการเล่นตามมุม วิทยาศาสตร์อย่างมีแบบแผนกับเด็กปฐมวัยที่ได้รับประสบการณ์จากการใช้กิจกรรมตามแผนการจัดประสบการณ์และการเล่นตามมุมวิทยาศาสตร์แบบปกติของสำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ

สมมติฐานของการวิจัย
 เด็กปฐมวัยที่ได้รับประสบการณ์ใช้กิจกรรมมุ่งเน้นทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และการเล่นตามมุมวิทยาศาสตร์อย่างมีแบบแผนจะมีกระบวนการทางวิทยาศาสตร์สูงกว่าเด็กปฐมวัยที่ได้รับประสบการณ์จากการใช้กิจกรรมตามแผนการจัดประสบการณ์และ การเล่นตามมุมวิทยาศาสตร์แบบปกติของสำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ

ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง
ประชากร
นักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 1  ภาคเรียนที่ 2  ปีการศึกษา 2543  โรงเรียนเขมราฐ  สำนักงานการประถมศึกษาอำเภอเขมราฐ  จังหวัดอุบลราชธานี  จำนวน 60 คน
กลุ่มตัวอย่าง
นักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 1/1  ภาคเรียนที่ 2  ปีการศึกษา 2543  โรงเรียนเขมราฐ จังหวัดอุบลราชธานี  จำนวน 30 คน  ซึ่งได้มาโดยวิธีสุ่มแบบเป็นกลุ่ม

เครื่องมือในการวิจัย
1. แผนการจัดประสบการณ์โดยใช้กิจกรรมมุ่งเน้นทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์จำนวน 30 แผน  มี 6 หน่วยการสอนคือ  หน่วยผลไม้ใครๆก็ชอบ  หน่วยกล้วยจ๋าน่ากินจัง  หน่วยผักสดสะอาด  หน่วยสัตว์เลี้ยงแสนดี  หน่วยต้นไม้เพื่อนรัก  และหน่วยดอกไม้ประดับ
2. แผนการจัดประสบการณ์โดยใช้กิจกรรมตามแผนการจัดประสบการณ์ของสำนักคณะกรรมการการปกครองประถมศึกษาแห่งชาติ  จำนวน 30 แผน  มี 6 หน่วยการสอนคือ  หน่วยผลไม้ใครๆก็ชอบ  หน่วยกล้วยจ๋าน่ากินจัง  หน่วยผักสดสะอาด  หน่วยสัตว์เลี้ยงแสนดี  หน่วยต้นไม้เพื่อนรัก  และหน่วยดอกไม้ประดับ

การเก็บรวบรวมข้อมูล
แบ่งกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม  ดำเนินการโดยกลุ่มทดลองได้รับประสบการณ์จากการใช้กิจกรรมมุ่งเน้นทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์  ใช้เวลาในการสอนแผนละ 30 นาที  เป็นเวลา 6 สัปดาห์  และการเล่นตามมุมวิทยาศาสตร์อย่างมีแบบแผน  ใช้เวลาการเล่นครั้งละ 40 นาที  สัปดาห์ละ 3 ครั้ง เป็นเวลา 6 สัปดาห์  ส่วนกลุ่มควบคุมได้รับการจัดประสบการณ์จากการใช้กิจกรรมตามแผนการจัดประสบการณ์ของสำนักงานคณะกรรมการการประถมแห่งชาติ  ใช้เวลาในการสอนแผนละ 40 นาที  เป็นเวลา 6 สัปดาห์  และการเล่นตามมุมวิทยาศาสตร์อย่างมีแบบปกติ ครั้งละ 40 นาที  สัปดาห์ละ 3 ครั้ง เป็นเวลา 6 สัปดาห์  หลังสิ้นสุดการทดลองแล้วให้นักเรียนกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมทำแบบทดสอบวัดทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ชุดเดิมหลังการทดลองผู้วิจัยเป็นผู้ดำเนินการสอบเองเป็นรายบุคคล

สรุปผลการวิจัย
1.เด็กปฐมวัยที่ได้รับประสบการณ์ใช้กิจกรรมมุ่งเน้นทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และการเล่นตามมุม วิทยาศาสตร์อย่างมีแบบแผนมีทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์หลังการทดลองสูงขึ้น
2. เด็กปฐมวัยที่ได้รับประสบการณ์จากการใช้กิจกรรมตามแผนการจัดประสบการณ์และการเล่นตามมุมวิทยาศาสตร์แบบปกติ ของสำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติมีทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์หลังการทดลองสูงขึ้น
3. เด็กปฐมวัยที่ได้รับประสบการณ์ใช้กิจกรรมมุ่งเน้นทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และการเล่นตามมุมวิทยาศาสตร์อย่างมีแบบแผนมีทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์สูงกว่าเด็กปฐมวัยที่ได้รับประสบการณ์จากการใช้กิจกรรม ตามแผนการจัดประสบการณ์และการเล่นตามมุมวิทยาศาสตร์แบบปกติของสำนักงานคณะ กรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ  และเมื่อวิเคราะห์เปรียบเทียบเป็นรายทักษะพบว่า  เด็กปฐมวัยที่ได้รับประสบการณ์ใช้กิจกรรมมุ่งเน้นทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และการเล่นตามมุมวิทยาศาสตร์อย่างมีแบบแผนมีทักษะการสังเกต  ทักษะการจำแนกประเภท  ทักษะการแสดงปริมาณ  ทักษะการสื่อความหมาย  ทักษะการลงความเห็น  และทักษะการหามิติสัมพันธ์หลังการทดลองสูงกว่าเด็กปฐมวัยที่ได้รับประสบการณ์จากการใช้กิจกรรมตามแผนการจัดประสบการณ์และการเล่นตามมุมวิทยาศาสตร์แบบปกติ ของสำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ



วันจันทร์ที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2556

ครั้งที่ 16 วันที่ 30 กันยายน 2556

กิจกรรมการเรียนการสอนในวันนีี้คือ นำเสนอการทดลองวิทยาศาสตร์  ซึ่งมีการทดลองดังนี้

รายการทดลองของเพื่อนๆ

  • ผ้าเปลี่ยนสี
  • กาลักน้ำแรงโน้มถ่วงของโลก
  • ทีเด็ดน้ำยาล้างจาน
  • น้ำอัดลมฟองฟู
  • พริกไทยในน้ำ
  • ลาวาในขวด
  • ไข่ไม่แตก
  • มะนาวลบหมึก
 ซึ่งอาจารย์สอนเทคนิคการสอนการทดลองวิทยาศาสตร์ให้น่าสนใจ  สรุปได้ดังนี้

วันจันทร์ที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2556

ครั้งที่ 15 วันที่ 23 กันยายน 2556

การเรียนการสอนในวันนี้คือ  กิจกรรม Cooking ร่วมกันทำข้าวผัด

สรุปกิจกรรมการเรียนการสอนดังนี้


ค้นคว้าเพิ่มเติมวิธีทำข้าวผัด
อ้างอิงจาก  http://tinyzone.tv/FoodMenuDetail.aspx?ctpostid=22


วันจันทร์ที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2556

ครั้งที่ 14 วันที่ 16 กันยายน 2556

กิจกรรมการเรียนการสอนในวันนี้คือ การเขียนแผน Cooking

สอนโดยอาจารย์ตฤณ  แจ่มดิน (อาจารย์เบียร์)

โดยอาจารย์ให้แบ่งกลุ่ม  5  กลุ่ม  กลุ่มของฉันเขียนแผนเรื่อง "ไข่ตุ๋นแฟนซี"

ระดมความคิดเขียนสรุปเป็นแผนผังความคิด

เขียนวิธีทำไข่ตุ๋น

แผนการจัดประสบการณ์เรื่อง ไข่ตุ๋นแฟนซี

ประมวลภาพกิจกรรมการเรียนการสอนในวันนี้

ค้นคว้าเพิ่มเติมวิธีทำไข่ตุ๋น
อ้างอิงจาก  http://tinyzone.tv/FoodMenuDetail.aspx?ctpostid=24



วันจันทร์ที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2556

ครั้งที่ 13 วันที่ 9 กันยายน 2556

กิจกรรมการเรียนการสอนในวันนี้คือ อาจารย์ให้นักศึกษาส่งสื่อเข้ามุม

สื่อเข้ามุมของฉันคือ  กล่องระบบสุริยะจักรวาล


วัสดุ/อุกรณ์           1. กล่องคอมพิวเตอร์

                                2. กระดาษสีต่างๆ/การดาษเรืองแสง

                                3. ลูกปิงปอง         จำนวน  9  ลูก

                                4. สีโปสเตอร์สีขาว+แปรงสีฟัน

                                5. กาว+กรรไกร+เข็ม+ด้าย

                                6. แผ่นสติกเกอร์ใส

                                        7. ไฟฉาย

วิธีทำ

-          ประดิษฐ์ท้องฟ้าจำลองภายในโดยการใช้กระดาษสีดำติดลงในกล่องให้ทั่ว

-          ตกแต่งโดยการตัดกระดาษเรืองแสงรูปดาวติดลงบนกระดาษสีดำ

-          ใช้แปรงสีฟันจุ่มสีโปสเตอร์ดีดให้ทั่วท้องฟ้าจำลอง

-          ใช้กระดาษสีต่างๆห่อลูกปิงปองเพื่อจำลองเป็นดาวเคราะห์ต่างๆ

-          เย็บดาวเคราะห์ให้ติดกับกล่อง



-          ปิดกล่องให้เรียบร้อย

-          ห่อกล่องด้วยกระดาษสีดำ

-          เจาะรูข้างกล่อง 2 รู


-          ตกแต่งโดยการตัดกระดาษเรืองแสงรูปดาวติดลงบนกระดาษสีดำ

-          ใช้แปรงสีฟันจุ่มสีโปสเตอร์ดีดให้ทั่วท้องฟ้าจำลอง


-          วาดรูปดาวเคราะห์ต่างๆลงในกระดาษ  ตกแต่งให้สวยงาม

 
-          ติดภาพดาวเคราะห์และชื่อดาวเคราะห์ลงบนด้านหน้ากล่อง

-          ใช้แผ่นสติกเกอร์ใสห่อกล่องให้เรียบร้อย

 


การใช้งานของสื่อ               สอนเรื่องระบบสุริยะ  สามารถใช้เล่นโดยให้เด็กใช้ไฟฉายส่องเข้าไปในกล่องเพื่อดูท้องฟ้าจำลอง