วันอังคารที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2556

สรุปงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการจัดประสบการวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย


ซึ่งมีรายละเอียดงานวิจัยดังนี้

ชื่องานวิจัย  ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับประสบการณ์จากการใช้กิจกรรมมุ่งเน้นทักษะการบวนการทางวิทยาศาสตร์และการเล่นตามมุมวิทยาศาสตร์อย่างมีแบบแผน

ของ  อัจฉราภรณ์  เชื้อกลาง

เสนอต่อ  บัณฑิตวิทยาลัย  มหาวิทยาลัยเชียงใหม่  พฤษภาคม  2545

วัตถุประสงค์ของการวิจัย
1. เพื่อเปรียบเทียบทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับประสบการณ์ใช้กิจกรรมมุ่งเน้นทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และการเล่นตามมุมวิทยาศาสตร์อย่างมีแบบแผนก่อนและหลังการทดลอง
2. เพื่อเปรียบเทียบกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับประสบการณ์จากการใช้กิจกรรมตามแผนการจัดประสบการณ์และการเล่นตามมุมวิทยาศาสตร์แบบปกติของสำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติก่อนและหลังการทดลอง
3. เพื่อเปรียบเทียบทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับ ประสบการณ์ใช้กิจกรรมมุ่งเน้นทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และการเล่นตามมุม วิทยาศาสตร์อย่างมีแบบแผนกับเด็กปฐมวัยที่ได้รับประสบการณ์จากการใช้กิจกรรมตามแผนการจัดประสบการณ์และการเล่นตามมุมวิทยาศาสตร์แบบปกติของสำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ

สมมติฐานของการวิจัย
 เด็กปฐมวัยที่ได้รับประสบการณ์ใช้กิจกรรมมุ่งเน้นทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และการเล่นตามมุมวิทยาศาสตร์อย่างมีแบบแผนจะมีกระบวนการทางวิทยาศาสตร์สูงกว่าเด็กปฐมวัยที่ได้รับประสบการณ์จากการใช้กิจกรรมตามแผนการจัดประสบการณ์และ การเล่นตามมุมวิทยาศาสตร์แบบปกติของสำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ

ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง
ประชากร
นักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 1  ภาคเรียนที่ 2  ปีการศึกษา 2543  โรงเรียนเขมราฐ  สำนักงานการประถมศึกษาอำเภอเขมราฐ  จังหวัดอุบลราชธานี  จำนวน 60 คน
กลุ่มตัวอย่าง
นักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 1/1  ภาคเรียนที่ 2  ปีการศึกษา 2543  โรงเรียนเขมราฐ จังหวัดอุบลราชธานี  จำนวน 30 คน  ซึ่งได้มาโดยวิธีสุ่มแบบเป็นกลุ่ม

เครื่องมือในการวิจัย
1. แผนการจัดประสบการณ์โดยใช้กิจกรรมมุ่งเน้นทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์จำนวน 30 แผน  มี 6 หน่วยการสอนคือ  หน่วยผลไม้ใครๆก็ชอบ  หน่วยกล้วยจ๋าน่ากินจัง  หน่วยผักสดสะอาด  หน่วยสัตว์เลี้ยงแสนดี  หน่วยต้นไม้เพื่อนรัก  และหน่วยดอกไม้ประดับ
2. แผนการจัดประสบการณ์โดยใช้กิจกรรมตามแผนการจัดประสบการณ์ของสำนักคณะกรรมการการปกครองประถมศึกษาแห่งชาติ  จำนวน 30 แผน  มี 6 หน่วยการสอนคือ  หน่วยผลไม้ใครๆก็ชอบ  หน่วยกล้วยจ๋าน่ากินจัง  หน่วยผักสดสะอาด  หน่วยสัตว์เลี้ยงแสนดี  หน่วยต้นไม้เพื่อนรัก  และหน่วยดอกไม้ประดับ

การเก็บรวบรวมข้อมูล
แบ่งกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม  ดำเนินการโดยกลุ่มทดลองได้รับประสบการณ์จากการใช้กิจกรรมมุ่งเน้นทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์  ใช้เวลาในการสอนแผนละ 30 นาที  เป็นเวลา 6 สัปดาห์  และการเล่นตามมุมวิทยาศาสตร์อย่างมีแบบแผน  ใช้เวลาการเล่นครั้งละ 40 นาที  สัปดาห์ละ 3 ครั้ง เป็นเวลา 6 สัปดาห์  ส่วนกลุ่มควบคุมได้รับการจัดประสบการณ์จากการใช้กิจกรรมตามแผนการจัดประสบการณ์ของสำนักงานคณะกรรมการการประถมแห่งชาติ  ใช้เวลาในการสอนแผนละ 40 นาที  เป็นเวลา 6 สัปดาห์  และการเล่นตามมุมวิทยาศาสตร์อย่างมีแบบปกติ ครั้งละ 40 นาที  สัปดาห์ละ 3 ครั้ง เป็นเวลา 6 สัปดาห์  หลังสิ้นสุดการทดลองแล้วให้นักเรียนกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมทำแบบทดสอบวัดทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ชุดเดิมหลังการทดลองผู้วิจัยเป็นผู้ดำเนินการสอบเองเป็นรายบุคคล

สรุปผลการวิจัย
1.เด็กปฐมวัยที่ได้รับประสบการณ์ใช้กิจกรรมมุ่งเน้นทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และการเล่นตามมุม วิทยาศาสตร์อย่างมีแบบแผนมีทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์หลังการทดลองสูงขึ้น
2. เด็กปฐมวัยที่ได้รับประสบการณ์จากการใช้กิจกรรมตามแผนการจัดประสบการณ์และการเล่นตามมุมวิทยาศาสตร์แบบปกติ ของสำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติมีทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์หลังการทดลองสูงขึ้น
3. เด็กปฐมวัยที่ได้รับประสบการณ์ใช้กิจกรรมมุ่งเน้นทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และการเล่นตามมุมวิทยาศาสตร์อย่างมีแบบแผนมีทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์สูงกว่าเด็กปฐมวัยที่ได้รับประสบการณ์จากการใช้กิจกรรม ตามแผนการจัดประสบการณ์และการเล่นตามมุมวิทยาศาสตร์แบบปกติของสำนักงานคณะ กรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ  และเมื่อวิเคราะห์เปรียบเทียบเป็นรายทักษะพบว่า  เด็กปฐมวัยที่ได้รับประสบการณ์ใช้กิจกรรมมุ่งเน้นทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และการเล่นตามมุมวิทยาศาสตร์อย่างมีแบบแผนมีทักษะการสังเกต  ทักษะการจำแนกประเภท  ทักษะการแสดงปริมาณ  ทักษะการสื่อความหมาย  ทักษะการลงความเห็น  และทักษะการหามิติสัมพันธ์หลังการทดลองสูงกว่าเด็กปฐมวัยที่ได้รับประสบการณ์จากการใช้กิจกรรมตามแผนการจัดประสบการณ์และการเล่นตามมุมวิทยาศาสตร์แบบปกติ ของสำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น